#รังสีรักษา

ผู้ป่วยมะเร็ง ช่องท้องและอุ้งเชิงกราน

ได้แก่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งไต มะเร็งระบบน้ำเหลืองในช่องท้อง มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น

การฉายรังสีบริเวณช่องท้องและอุ้งเชิงกราน

ได้แก่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งไต มะเร็งระบบน้ำเหลืองในช่องท้อง มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น

ผู้ป่วยจะถูกจัดตำแหน่งตามขอบเขตที่กำหนดไว้ จากนั้นนักรังสีรักษาจะทำการฉายรังสีตามแผนการรักษา ขณะฉายรังสีให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆ หายใจตามปกติ ในการฉายแต่ละครั้งใช้เวลา 5 – 30 นาที ขึ้นกับเทคนิคที่ใช้ ทำหารฉายรังสีสัปดาห์ละ 5 วัน ประมาณ 5 – 8 สัปดาห์ ตามชนิดและระยะของโรค และตามแผนการรักษาของแพทย์ ในผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องดื่มน้ำและกลั้นปัสสาวะก่อนฉายรังสี เพื่อลดผลข้างเคียงที่จะเกิดกับอวัยวะปกติโดยรอบ

อาการแสดง
ข้อควรปฏิบัติ
ผิวหนังแดงคล้ำหรือแห้งคัน(สัปดาห์ที่ 4 - 5)
- ปล่อยให้ผิวหนังส่วนนั้นถูกอากาศ ห้ามถูกแดด - บริเวณที่ฉายให้น้ำสะอาดไหลผ่านได้ และให้ซับให้แห้งด้วยผ้านุ่มๆ - ไม่ใช้สบู่ เครื่องสำอางทาบริเวณที่ฉายรังสี ยกเว้นเป็นยาที่แพทย์สั่ง - สวมเสื้อผ้าหลวมๆ อ่อนนุ่ม หลีกเลี่ยงการใส่ชั้นในที่รัดหรือคับ - หากมีอาการมากควรปรึกษาแพทย์
คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
- งดการรับประทานอาหาร 2 – 3 ชั่วโมงก่อนการฉายรังสี หรือรับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย - ควรรับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง - หากมีอาการมากควรปรึกษาแพทย์
ท้องเสียหรือมีอาการปวดเบ่ง
- รับประทานอาหารอ่อนที่ดูดซึมง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำซุป และน้ำหวาน เป็นต้น - หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ท้องเสียเพิ่ม เช่น ผัก ผลไม้และนม เป็นต้น - ดื่มน้ำมาก ๆ หรือจิบเครื่องดื่มผสมเกลือแร่ ORS บ่อย ๆ - หากมีอาการมากควรปรึกษาแพทย์
ปวดถ่วงบริเวณทวารหนัก
- ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา ไม่ควรปล่อยให้ท้องผูก - หากมีอาการมากควรปรึกษาแพทย์
ปัสสาวะบ่อยและขัดเวลาปัสสาวะ หรือปวดท้องน้อย
- ดื่มน้ำมากๆ วันละ 6 – 8 แก้ว - ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพราะกระเพราะปัสสาวะอาจเกิดการอักเสบได้ - หากมีปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะเป็นเลือด ควรรีบแจ้งแพทย์

การดูแลผิวหนังบริเวณที่ได้รับรังสี

- ห้ามลบเส้นและห้ามเติมเส้นด้วยตนเอง
- หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดจัด ห้ามวางกระเป๋าน้ำร้อนหรือประคบน้ำแข็งบริเวณที่ฉาย
- ควรสวมเสื้อผ้าหลวมๆ เพื่อลดการเสียดสีกับผิวหนัง
- งดล้างหรือทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่ ถ้าจำเป็นให้ใช้น้ำสะอาดไหลผ่านและใช้ผ้าอ่อนนุ่มซับให้แห้ง
- งดทาแป้ง ครีม เครื่องสำอางใดๆ ยกเว้นเป็นยาที่แพทย์สั่ง
***ผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสีควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษเพราะมีความบอบบางและเกิดแผลได้ง่าย***

การดูแลสุขภาพทั่วไปขณะได้รับการรักษาด้วยรังสี

- รับประทานอาหารที่สะอาด มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ งดอาหารหมักดอง เหล้า บุหรี่ ชา กาแฟ
- ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร
- พักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนหลับอย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง
- ออกกำลังกายตามสภาพของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
- ทำจิตใจให้สบาย ลดความวิตกกังวล โดยการหางานอดิเรกทำ
- หากผู้ป่วยรักษาโรคอื่นร่วมอยู่ด้วย ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาต่อไปและต้องรับการตรวจรักษาต่อกับแพทย์นั้นๆ ตามนัดสม่ำเสมอ

การดูแลผิวหนังภายหลังการฉายรังสี

หากแพทย์อนุญาตให้อาบน้ำได้ ท่าสามารถปฏิบัติได้ทันทีตามที่แพทย์แนะนำ

ถ้าแพทย์ไม่ได้แนะนำ ให้ท่านปฏิบัติตังนี้
** ถ้ามีแผลบริเวณที่ฉาย ให้งดอาบน้ำจนกว่าแผลจะแห้ง จึงเริ่มอาบน้ำได้
** ถ้าไม่มีแผลบริเวณที่ฉายรังสี
> สัปดาห์ที่ 1-2 ให้อาบน้ำได้โดยไม่ขัดถูหรือฟอกสบู่บริเวณที่ฉายและซับให้แห้งด้วยผ้านุ่ม
> สัปดาห์ที่ 3 ให้อาบน้ำได้ ฟอกสบู่ แต่ไม่ขัดถูบริเวณที่ฉายรังสี และซับให้แห้งด้วยผ้านุ่ม
> สัปดาห์ที่ 4 ให้อาบน้ำได้ตามปกติ และใช้ครีมที่มีความชุ่มชื้นนวดบริเวณที่ฉายทั้งด้านหน้าและหลังอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ทุกวันตลอดไป เพื่อป้องกันการแข็งตัวของผิวหนังจากการฉายรังสี
***หลังจากได้รับการรักษาครบแล้วแพทย์จะนัดมาตรวจติดามการรักษาต่อไปอีกระยะ ผู้ป่วยควรมารับการตรวจตามนัดทุกครั้ง***